รู้หรือไม่ อายุน้อยก็ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ได้

16109 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อัลไซเมอร์ เป็น "โรค" ไม่ใช่ภาวะสมองเสื่อมตามธรรมชาติ

หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า การพบว่าสมองเสื่อมจากผล MRI หรือ การพบโปรตีนที่ผิดปกติในสมองแล้วจะเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้น แท้จริงแล้วไม่เสมอไป ในผู้สูงอายุบางคน อาจมีอาการหลงๆ ลืมๆ บางคนอาจมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจเป็นภาวะเสื่อมตามธรรมชาติ โดยไม่ได้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ได้

"โรคอัลไซเมอร์" สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน! 

เนื่องจากการเกิดของโรคอัลไซเมอร์มีหลายสาเหตุ ซึ่งผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นอัลไซเมอร์ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ หรือผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุทางสมอง และมักจะพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย


โดยทั่วไปแล้วโรคอัลไซเมอร์สามารถวินิจฉัยได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่มีชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในคนที่อายุต่ำกว่า 65 ปีได้ เรียกว่า “โรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็ว” (early-onset Alzheimer’s) ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ก่อนวัยอันควร ได้แก่ ความเครียด สมองถูกกระทบกระเทือน การส่งต่อจากพันธุกรรม ร่วมถึงการเกิดจาดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นต้น

**สัญญาณเตือนของโรคอัลไซเมอร์**
1. มีความผิดปกติด้านความจำ มีปัญหาในการเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ
2. นึกคำที่ใช้เรียกสิ่งของที่ใช้อยู่เป็นประจำไม่ออก
3. หลงทาง ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ หรือบุคคลที่คุ้นเคย

4. นอนผิดปกติ เช่น กลางคืนไม่นอน หรือนอนกลางวันมากเกินไป
5. สูญเสียทักษะต่างๆที่เคยมี เช่น ความสามารถทำงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การใช้โทรศัพท์ การแต่งตัว การอ่าน การเขียน หรือแม้แต่การทำอาหาร
6. มีการเปลี่ยนแปลงด้านบุคลิกภาพ เช่น ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ไม่มีเหตุผล ซึมเศร้า เฉื่อยชา กังวล หงุดหงิด โมโหง่าย หวาดระแวง แสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ เห็นภาพหลอน หรือ หูแว่ว เป็นต้น
7. มีความผิดปกติทางระบบการเคลื่อนไหว และระบบประสาทส่วนอื่นๆ

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ หากได้รับการรักษา จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้เฉลี่ย 9-12 ปี หลังจากที่วินิจฉัยว่าเป็น และในบางคนหากได้รับดูแลอย่างดีอาจอยู่ได้นานถึง 15 ปี

อาการหลงลืมของโรคอัลไซเมอร์ แตกต่างจากการหลงลืมปกติ เนื่องจากเป็น อาการหลงลืมที่ "ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน" เช่น 
• จำคนรู้จักที่เจอกันบ่อยๆไม่ได้
• ลืมชื่อญาติสนิท 

• วางของผิดที่ผิดทาง เช่น วางรองเท้าไว้ในตู้เย็น
• ลืมเวลานัดหมาย ลืมวัน หรือลืมเหตุการณ์สำคัญ
• ลืมรับประทานยาที่จำเป็นต้องรับประทานประจำ
• ทำกิจกรรมที่ทำอยู่ประจำไม่ได้ เช่น ปกติขับรถแต่ลืมว่าขับรถอย่างไร จำสูตรอาหารที่ทำบ่อยๆไม่ได้
• หลงทางกลับบ้านหรือเส้นทางที่เดินทางอยู่เป็นประจำ

อาการหลงลืมเหล่านี้จะแตกต่างจาก "อาการหลงลืมแบบปกติ" ที่เป็นอาการหลงลืมที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนักและมักจะระลึกได้ในภายหลัง เช่น จำหน้าหรือชื่อของเพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมานานไม่ได้ ลืมว่าวางสิ่งของไว้ที่ไหน หรือ ลืมเส้นทางเดินทางที่ไม่คุ้นเคย เป็นต้น

ลายคนอาจคิดว่าตนเองป่วยเป็นอัลไซเมอร์ เพราะเริ่มมีความจำที่ไม่ดีและมีอาการหลงลืม แต่แท้จริงแล้วมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลงๆลืมๆ โดยที่คุณอาจไม่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ก็ได้ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถทำให้อาการหลงลืมหรือความจำที่ไม่ดี รักษาให้หายได้ เช่น
• โรคไทรอยด์
• ตับหรือไตมีปัญหา
• ทานยานอนหลับ
• ทานยาคลายกล้ามเนื้อ (บางชนิด)
• ช่วงที่มีภาวะเครียดหรือกังวล

• การพักผ่อนไม่เพียงพอ
• ไม่มีสมาธิ

• ช่วงที่มีการจากไปของคนรัก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้