1867 จำนวนผู้เข้าชม |
อาการในช่วงต้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละรายจะแตกต่างกันไป
โดยสัญญาณแรกที่มักพบได้ คือ อาการหลงลืมที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ต่อไปนี้
เมื่ออาการของโรคเริ่มพัฒนา ถึงขั้นนี้ ปัญหาด้านความทรงจำจะปรากฏชัดขึ้น ผู้ป่วยมักต้องได้รับความช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น
การรับประทานอาหาร การอาบน้ำแต่งตัว และการเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัว
การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น พยายามนึกชื่อเพื่อนและครอบ ครัวแต่นึกไม่ออก
เกิดภาวะสับสนและสูญเสียการ รับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น หลงทาง หรือเดินไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่รู้วันเวลา
มีปัญหากับการทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอน เช่น การแต่งตัว
มีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำๆ หรือวู่วาม
ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปัญหาในการรับมือต่อสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
มีอาการหลงผิด เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงอย่างสนิทใจ รวมถึงอาจหวาดระแวงหรือสงสัยในตัวผู้ดูแลหรือครอบครัวของตนเอง
มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือ การใช้ภาษาสื่อสาร
มีปัญหาด้านการนอนหลับ
เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล หงุดหงิด กระวนกระวายบ่อยครั้ง
ทำงานที่ต้องใช้การกะระยะได้ลำบาก
มีอาการประสาทหลอน
ระยะที่อาการของโรครุนแรงขึ้นอย่างมากจนสร้างความวิตกกังวลและเศร้าเสียใจต่อบุคคลใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลและให้ความช่วยเหลือตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือการเข้าห้องน้ำ
อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนที่เป็นๆ หายๆ จะยิ่งแย่ลงเรื่อยๆ
ผู้ป่วยอาจอาละวาด เรียกร้องความสนใจ และไม่เชื่อใจผู้คนรอบข้าง
กลืนและรับประทานอาหารลำบาก
เปลี่ยนท่าทางหรือเคลื่อนไหวร่างกายลำบาก ต้องได้รับการช่วยเหลือ
น้ำหนักลดลงมาก แม้จะรับประทานอาหารมากแล้วก็ตาม
มีอาการชัก
กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
ค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการพูดไปทีละน้อยจนไม่สามารถสื่อสารได้
มีปัญหาด้านความทรงจำในระยะสั้นและระยะยาวอย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการของโรคที่แย่ล งอย่างกะทันหัน อาจมีผลพวงมาจากการใช้ยา การติดเชื้อโรคหลอดเลือดในสมอง หรือภาวะสับสนเฉียบพลันที่เกิดแทรกขึ้นมาได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สังเกต พบว่าอาการของตนแย่ลงอย่างรวดเร็วควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา